Defence Technology Institute Repository >
สรุปข่าวเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (Defence Technology News) >
ปี พ.ศ. 2562 >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/1766
|
Title: | สรุปข่าว สิงคโปร์ประจำการรถหุ้มเกราะสายพาน Hunter AFV |
Authors: | ฝ่ายวิเคราะห์เทคโนโลยีป้องกันประเทศ, TTA |
Keywords: | สรุปข่าวเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ข่าว 2562 2019 สิงคโปร์ รถหุ้มเกราะสายพาน Hunter AFV Hunter Tracked Armoured Fighting Vehicle อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านรถถัง Anti-tank Guided Missile ATGM Defence Science and Technology Agency DSTA ST Engineering Land Systems ASEAN |
Issue Date: | 17-Aug-2020 |
Abstract: | สิงคโปร์ประจำการรถหุ้มเกราะสายพาน Hunter AFV |
Description: | กองทัพสิงคโปร์เปิดเผยข้อมูลใหม่ล่าสุดของรถหุ้มเกราะสายพาน Hunter Tracked Armoured Fighting Vehicle ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มรถรบหุ้มเกราะแบบแรกของสิงคโปร์ที่มีแสนยานุภาพของอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านรถถัง (Anti-tank Guided Missile : ATGM) โดยรถดังกล่าวถูกบรรจุเข้าประจำการเมื่อ 11 มิ.ย. 62 ในงานเดินขบวนพาเหรดฉลองในวาระครบรอบ 50 ปีของการก่อตั้งกองทัพบกสิงคโปร์ และเป็นยุทโธปกรณ์ที่ได้รับการพัฒนาร่วมกันระหว่างหน่วยงาน Defence Science and Technology Agency (DSTA) และบริษัท ST Engineering Land Systems ซึ่งเริ่มต้นโครงการตั้งแต่ปี 49 โดยรถ Hunter AFV มี 5 รุ่น ประกอบด้วยรถรบ รถบัญชาการ รถวางสะพาน รถช่างสนาม และรถกู้ซ่อม
Hunter AFV มีความยาว 6.9 ม. กว้าง 3.4 ม. น้ำหนัก 29.5 ตัน ใช้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ 3 คน พลขับอยู่ด้านหน้าทางซ้าย ส่วนพลปืนและผู้บังคับบัญชาอยู่ด้านหลัง บรรทุกทหารราบติดอาวุธครบมือได้มากที่สุด 8 คน ติดตั้งปืนใหญ่อัตโนมัติ Orbital ATK ขนาด 30 มม. Mk44 Bushmaster Automatic Cannon บรรจุกระสุนได้ 230 นัด และสามารถติดตั้งเครื่องยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านรถถัง นอกจากนี้ Hunter AFV ใช้เทคโนโลยี Drive-by-Wire ในการขับเคลื่อน มีระบบควบคุมที่มาพร้อมกับระบบนำร่อง ระบบอาวุธ ระบบตรวจจับ ระบบจัดการสนามรบ และอุปกรณ์วางแผนการปฏิบัติการ โดยฟังก์ชันการใช้งานทั้งหมดถูกผนวกรวมไว้ที่ Combat Cockpit และมีชุดแจ้งเตือนภัยด้วยเลเซอร์ (Laser Warning Suite) มีศักยภาพในการทำงานร่วมกับยานไร้คนขับ UAV และ UGV เพื่อขยายขอบเขตการเฝ้าระวังภัย เนื่องจากสามารถรับข้อมูลภาพและวิดีโอจากยานไร้คนขับ ระบบขับเคลื่อนใช้เครื่องยนต์ดีเซล MTU 8V-199 TE20 ขนาด 710 แรงม้าและชุดเกียร์ Kinetics Drive Solution HMX3000 ความเร็วสูงสุดในการเคลื่อนที่เฉลี่ย 70 กม./ชม. และมีระยะปฏิบัติการ 500 กม. ทั้งนี้ บริษัท Rafael ให้ข้อมูลว่าจะติดตั้งเครื่องยิงจรวดรุ่น Spike LR II ให้แก่สิงคโปร์ ส่วนบริษัท Elbit Systems เตรียมพร้อมติดตั้งระบบกล้องส่องเล็งเป้าหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electro-optics : ELOP) |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/1766 |
Appears in Collections: | ปี พ.ศ. 2562
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|