Defence Technology Institute Repository >
บทวิเคราะห์ >
เทคโนโลยีจรวดและอาวุธนำวิถี >
Please use this identifier to cite or link to this item:
http://hdl.handle.net/123456789/3798
|
Title: | ระบบป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพในอาเซียน |
Authors: | ฝ่ายวิเคราะห์เทคโนโลยีป้องกันประเทศ, TTA |
Keywords: | บทวิเคราะห์เทคโนโลยีป้องกันประเทศ บทวิเคราะห์ 2558 2015 ระบบป้องกันภัยทางอากาศ อาเซียน IADS GBADS SA-2/S-75 SA-3 (Goa)/S-125 Neva/Pechora SA-6 (Gainful)/2K12 (Kub) IGLA Derby MR Aster-30 Skyshield 35 Rapier Jernas Starburst 9K38 Igla/SA-18 S-125 Pechora-2M (SA-3 Goa) |
Issue Date: | 9-Aug-2022 |
Abstract: | ภัยทางอากาศก่อให้เกิดมิติที่สามของสนามรบ เป็นภัยที่คุกคามอย่างรุนแรงและกว้างขวางต่อหน่วยทหารภาคพื้นดิน สามารถก่อให้เกิดผลกระทบหรือขัดขวางต่อผลสำเร็จในการปฏิบัติภารกิจของหน่วยทหารภาคพื้นดิน พลเอก กุยลิโอ ดูเอ้ (Giulio Douhet) นายทหารนักทฤษฎีทางอากาศชาวอิตาเลี่ยน ได้ยกย่องให้กำลังรบทางอากาศ เป็นปัจจัยสนับสนุนให้รบชนะ สามารถเสริมอำนาจการรบให้แก่เหล่าทัพอื่นด้วยการฉกฉวยความได้เปรียบจากการรุกจู่โจม จากทุกทิศทาง ช่วยให้บรรลุผลได้อย่างรวดเร็วและเฉียบขาด เป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะกำหนดผลแพ้ชนะของสงคราม ดังที่ปรากฏให้เห็นเป็นที่ประจักษ์จากสงครามในอดีตหลายต่อหลายครั้งที่ผ่านมา เช่น ในสงครามอ่าวเปอร์เซีย (Gulf War) เมื่อฝ่ายรุกคือกองกำลังผสมภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา เริ่มต้นเปิดฉาดด้วยการโหมกระหน่ำโจมตีฝ่ายอิรักแบบตั้งตัวไม่ติดด้วยขีปนาวุธแบบพื้นสู่พื้นและอากาศสู่พื้น รวมทั้งเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด จนสามารถครองความเหนือกว่าทางอากาศ (Air Superiority) ด้วยเวลาอันรวดเร็ว สงครามในครั้งนั้นเป็นเพียงหนึ่งตัวอย่างที่สะท้อนและถ่ายทอดให้เห็นถึงแสนยานุภาพและอำนาจการทำลายจากทางอากาศ เป็นเครื่องย้ำเตือนถึงความสำคัญที่ต้องจัดการป้องกันภัยทางอากาศให้มีประสิทธิภาพ ด้วยยุทโธปกรณ์ที่เหมาะสมกับภัยคุกคามให้กับหน่วยรบภาคพื้นดิน |
URI: | http://hdl.handle.net/123456789/3798 |
Appears in Collections: | เทคโนโลยีจรวดและอาวุธนำวิถี
|
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.
|